การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในลักษณะต่างๆ
แมกมาภายในฐานธรณีภาคที่อยู่บริเวณใต้แนวรอยแตกของเปลือกโลกมีอุณหภูมิสูงมาก
เมื่อแมกมาได้รับความร้อนจากภายโลก แมกมาจะเคลื่อนที่ขึ้นสู่ด้านบนเมื่ออุณหภูมิลดลง
แมกมาจะเคลื่อนที่ห่างจากแนวรอยแตกและเคลื่อนที่กลับสู่ด้านล่างลงไปยังฐานธรณีภาค
เมื่อแมกมาได้รับความร้อนจากภายในโลกเพิ่มขึ้น ก็จะเคลื่อนที่ขึ้นสู่ด้านบนอีกในลักษณะหมุนวนกันเป็นวงจร
เรียกว่า วงจรการพาความร้อน (convection cell ) การพาความร้อนของแมกมาเป็นสาเหตุทำให้แผ่นธรณีที่วางตัวอยู่บนฐานธรณีภาคเกิดการเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆได้
เป็นการจำลองการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในลักษณะต่างๆ
เมื่อแผ่นธรณีเคลื่อนที่จะทำให้รอยต่อระหว่างแผ่นธรณีเกิดการขยับตัวและเคลื่อนที่ในหลายลักษณะ
ได้แก่ แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกออกจากกัน (divergent plate) แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (convergent
plate) และแผ่นธรณีเคลื่อนที่เฉือนกัน
(transform fault plate)
แผ่นธรณีบนโลกประกอบด้วยแผ่นที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็กจำนวนหลายแผ่นซึ่งทั้งหมดจะวางตัวต่อกันและเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ
แผ่นธรณีขนาดใหญ่ ได้แก่ แผ่นธรณีแอฟริกา แผ่นธรณียูเรเซีย แผ่นธรณีอินเดีย-ออสเตรเลีย แผ่นธรณีแอนตาร์กติก แผ่นธรณีแปซิฟิก
แผ่นธรณีอเมริกาเหนือและแผ่นธรณีอเมริกาใต้ ปัจจุบันแผ่นธรณีมีการเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆที่สัมพันธ์กัน
-แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกออกจากกัน การเคลื่อนที่แยกออกจากกันของแผ่นธรณีทำให้เกิดเทือกสันเขาใต้สมุทร
เทือกสันเขาใต้สมุทรที่สำคัญ เช่น เทือกสันเขาใต้สมุทรกลางมหาสมุทรแอตแลนติก (mid-Atlantic ridge) ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่แยกออกจากกันของแผ่นธรณีอเมริกาใต้และแผ่นธรณีแอฟริกาตรงบริเวณแนวรอยแตกกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
การเคลื่อนที่แยกออกจากกันของแผ่นธรณีส่งผลให้แผ่นธรณีแตกหักออกจากกันอย่างฉับพลันและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นตรงบริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี
-แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นธรณีและผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีดังกล่าว
1. การเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นธรณีมหาสมุทร
(oceanic-oceanic
convergence) เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรจำนวน
2 แผ่นเข้าหากัน
แผ่นที่มีความหนาแน่นมากกว่าซึ่งส่วนใหญ่แผ่นที่มีอายุหินมากกว่าจะมุดตัวลงข้างใต้อีกแผ่นหนึ่งบริเวณที่แผ่นธรณีมุดตัวลงเรียกว่า
เขตมุดตัว (subduction
zone) บริเวณเขตมุดตัวจะเกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) ซึ่งมีลักษณะเป็นร่องลึกที่พื้นมหาสมุทร
มีลักษณะแคบยาวและมีขอบสูงชัน ส่วนปลายของแผ่นธรณีที่มุดตัวลงจะเคลื่อนที่จมลงสู่ฐานธรณีภาค
ทำให้บางส่วนหลอมเหลวกลายเป็นแมกมาและจะปะทุแทรกขึ้นมาบนเปลือกโลกมหาสมุทรเกิดเป็นกลุ่มภูเขาไฟลูกเล็กๆ
อยู่กลางมหาสมุทร มีลักษณะเรียงต่อกันเป็นรูปโค้งตามแนวร่องลึกก้นสมุทร
เรียกแนวภูเขาไฟดังกล่าวว่า หมู่เกาะรูปโค้ง (island arc ) ตัวอย่างหมู่เกาะรูปโค้ง เช่น หมู่เกาะมาเรียนนา
ที่อยู่ใกล้แนว ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนนา (Mariana trench) มีความลึกประมาณ 11 กิโลเมตร บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก
และหมู่เกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นและประเทศฟิลิปปินส์
การมุดตัวลงของแผ่นธรณีในลักษณะนี้ส่วนใหญ่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตรงบริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี
2.การเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นธรณีมหาสมุทรกับแผ่นธรณีทวีป
(oceanic-continental
convergence) เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรกับแผ่นธรณีทวีปเคลื่อนที่เข้าหากันแผ่นธรณีมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าจะมุดตัวลงข้างใต้แผ่นธรณีทวีป
บริเวณที่แผ่นธรณีมุดตัวลงเรียกว่า เขตมุดตัว
บริเวณเขตมุดตัวจะเกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทร และส่วนปลายของแผ่นธรณีที่มุดตัวลงจะเคลื่อนที่จมลงสู่ฐานธรณีภาค
ทำให้บางส่วนหลอมเหลวกลายเป็นแมกมาและปะทุแทรกขึ้นมาบนเปลือกโลกทวีปเกิดเป็นกลุ่มภูเขาไฟที่มีการวางตัวเป็นรูปโค้งอยู่เหนือบริเวณเขตมุดตัว
เรียกว่า แนวภูเข้าไฟรูปโค้ง (volcanic arc) ตัวอย่างแนวภูเขาไฟรูปโค้ง เช่น แนวภูเขาไฟรูปโค้งสุมาตรา-ชวา ประเทศอินโดนีเซีย
เทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้
การมุดตัวลงของแผ่นธรณีในลักษณะนี้ส่วนใหญ่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตรงบริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี
3. การเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นธรณีทวีป
(continental-continental
convergence) เมื่อแผ่นธรณีทวีปจำนวน
2 แผ่น เคลื่อนเข้าหากัน
บางส่วนของแผ่นธรณีที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะมุดตัวลงข้างใต้อีกแผ่นหนึ่งและบางส่วนที่มีความหนาแน่นใกล้เคียงกันจะเกิดการชนกันจนทำให้ชั้นหินบนเปลือกโลกทวีปเกิดเป็นรอยคดโค้งและเกิดเป็นเทือกเขาสูงใหญ่ตรงบริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี
เทือกเขาหิมาลัยเป็นตัวอย่างเทือกเขาที่เกิดจากแผ่นธรณีทวีปจำนวน 2 ผ่านเคลื่อนที่เข้าหากัน
-แผ่นธรณีเคลื่อนที่เฉือนกัน เป็นการจำลองการเคลื่อนที่เฉือนกันของแผ่นธรณีทวีปกับแผ่นธรณีทวีป
และแผ่นธรณีมหาสมุทรกับแผ่นธรณีมหาสมุทร
ในธรรมชาติการเคลื่อนที่เฉือนกันของแผ่นธรณีส่วนใหญ่จะเกิดร่วมกับการเคลื่อนที่แยกออกจากกันและการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นธรณี
การเคลื่อนที่เฉือนกันของแผ่นธรณีทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดไหวขึ้นตรงบริเวณแนวรอยต่อแผ่นธรณี
ตัวอย่างการเคลื่อนที่เฉือนกันของทวีป เช่น รอยเลื่อนแซนแอนเดรียส (San Andreas fault) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่เฉือนกันของแผ่นธรณีอเมริกาเหนือ
สาเหตุดังกล่าวทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีทั้ง 3
ลักษณะ ได้แก่ การเคลื่อนที่แยกออกจากกัน
การเคลื่อนที่เข้าหากันและการเคลื่อนที่เฉือนกันของแผ่นธรณี
นอกจากจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาต่างๆ
ตรงบริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณีแล้ว การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณียังทำให้เกิดชั้นหินคดโค้ง
(fold) และรอยเลื่อน (fault) ตรงบริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณี
และในหินหรือชั้นหินบนเปลือกโลกด้วย รอยคดโค้งที่ปรากฏอยู่ในหินชั้นบนเปลือกโลก
เกิดจากแรงที่มากระทำกับหินหรือชั้นหินในทิศทางต่างๆ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี
ตัวอย่างชั้นหินคดโค้งที่ปรากฏบนเปลือกโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น